“พื้นที่ทางสังคม”แท้จริงแล้วไม่ใช่สิ่งใหม่ที่ปรากฏขึ้นมาในศาสตร์ทางสถาปัตยกรรม แต่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาพื้นที่ทางกายภาพอย่างละเอียดอ่อนมากขึ้น ไม่ได้เพ่งพิจารณาจากแง่มุมของการออกแบบ หรืองานใช้สอย แต่พิจารณาลึกลงไปในส่วนของผู้ใช้ คนที่อยู่อาศัยในนั้น หรือคนที่มีส่วนร่วมในพื้นที่นั้นๆ งานวิจัยชิ้นนี้ต้องการสำรวจ แยกแยะ จัดกลุ่ม เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นความแตกต่างหลากหลายของแนวคิดที่ว่าด้วย “พื้นที่ทางสังคม” ที่มิได้มีหนึ่งเดียว มิได้มีแนวทางในการเข้าไประบุ อธิบาย คลี่คลายถึงที่มาที่ไป การก่อรูปและการดำเนินไปของพื้นที่ทางสังคม
บทนำ : ภาพร่างของพื้นที่ทางสังคม
กระบวนการสรรสร้างพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมและเอื้อให้เกิดพื้นที่ทางสังคม: กรณีศึกษาชุมชนย่านคลองบางหลวง
จังหวะชีวิตเมืองและพื้นที่ทางสังคมของชุมชนละแวกบ้านในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่
จากแนวคิด “การฟื้นฟูย่านเกย์” สู่ “การก่อตัวของพื้นที่เควียร์” : กรณีศึกษาย่านอารีย์ - ประดิทพัทธ์ในกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครผสมผสานพันทาง : สภาวะอัตวิสัยและภาพตัวแทนของเมือง ในภาพยนต์ไทยที่กำกับโดยผู้กำกับชาวเอเชียตะวันออก
การค้าขายอาหารริมทางในย่านศาลายา - นครปฐม : ปฏิบัติการเชิงพื้นที่การผลิตสร้างพื้นที่ทางสังคม และความเป็นเมืองในชีวิตประจำวัน
ฮาลาล-แลนด์ : การอุบัติและภาพตัวแทนของสถาปัตยกรรมร้านอาหารนานาชาติของชาวไทยมุสลิม : กรณีศึกษาพื้นที่เมืองย่านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร
ปฏิบัติการเชิงพื้นที่และภาพตัวแทนบนพื้นที่เมืองของกลุ่มดิจิทัลโนแมดบนกรณีศึกษาเมืองเชียงใหม่
บทสังเคราะห์ : สำรวจพื้นที่ทางสังคม : อัตลักษณ์ ปฏิบัติการ และภาพตัวแทน